ที่ตรงนี้ยังคงมีรัก ถ้าเธอเหนื่อยนัก ให้มาพักใจ... เพลงคุ้นหูทางโทรทัศน์ในช่วงต้นยุค ค.ศ. 2000 มีใครเคยฟังหรือนึกออกหรือไม่ว่ามาจากซิตคอมเรื่อ" /> ที่ตรงนี้ยังคงมีรัก ถ้าเธอเหนื่อยนัก ให้มาพักใจ... เพลงคุ้นหูทางโทรทัศน์ในช่วงต้นยุค ค.ศ. 2000 มีใครเคยฟังหรือนึกออกหรือไม่ว่ามาจากซิตคอมเรื่อ"> ที่ตรงนี้ยังคงมีรัก ถ้าเธอเหนื่อยนัก ให้มาพักใจ... เพลงคุ้นหูทางโทรทัศน์ในช่วงต้นยุค ค.ศ. 2000 มีใครเคยฟังหรือนึกออกหรือไม่ว่ามาจากซิตคอมเรื่อ" /> ที่ตรงนี้ยังคงมีรัก ถ้าเธอเหนื่อยนัก ให้มาพักใจ... เพลงคุ้นหูทางโทรทัศน์ในช่วงต้นยุค ค.ศ. 2000 มีใครเคยฟังหรือนึกออกหรือไม่ว่ามาจากซิตคอมเรื่อ"/>
ที่ตรงนี้ยังคงมีรัก ถ้าเธอเหนื่อยนัก ให้มาพักใจ... เพลงคุ้นหูทางโทรทัศน์ในช่วงต้นยุค ค.ศ. 2000 มีใครเคยฟังหรือนึกออกหรือไม่ว่ามาจากซิตคอมเรื่องอะไร เราจะขอเก็บคำเฉลยไว้และพาคุณไปทำความรู้จักกับซิตคอมให้มากขึ้นเพื่อทบทวนความทรงจำในอดีต เชื้อเชิญให้นึกถึงช่วงยุคทองของซิตคอมก่อน ว่ามีเรื่องอะไรเด่นมีเรื่องอะไรดัง และมีเรื่องไหนที่อาจจะเคยผ่านตา เพื่อตั้งข้อสังเกตว่าหนังซิตคอมได้ปรับเปลี่ยนหลงเหลืออยู่มากน้อยเพียงใดในปัจจุบัน
หากกล่าวถึงชีวิตประจำวันในช่วงที่ผู้คนนิยมดูโทรทัศน์พร้อมหน้ากัน หรือแม้กระทั่งเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ในช่วงวันหยุดขณะทำกิจกรรมอื่นไปด้วยแล้ว ซิตคอมนั้นเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงปี ค.ศ. 2000 มีการผลิตออกมาหลายเรื่อง จนทำให้ช่องโทรทัศน์สามารถฉายซิตคอมในหนึ่งวันได้ถึงสามเวลา คือตั้งแต่ช่วงเวลาสายถึงเที่ยงวัน ช่วงเวลาหัวค่ำ และช่วงเวลาดึก
ซิตคอม ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ Situation Comedy ที่หมายถึงละครหรรษา ซิตคอมดำเนินเรื่องผ่านประเด็นเหตุการณ์บางอย่างที่ดำเนินไปจนกระทั่งสรุปจบภายในตอนพร้อมทั้งให้แง่คิด ทำให้แก่นเรื่องนั้นไม่ได้คืบหน้าไปเท่าไหร่ ซึ่งถึงแม้เราไม่ได้ดูติดต่อกันทุกวันก็ยังสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องที่นำมาปะติดปะต่อกันได้ โดยแต่ละเรื่องนั้นมีระยะเวลาการออกอากาศยาวนานเป็นปี ๆ
อาทิ บางรักซอย 9 (2003-2018) ที่ออกอากาศเป็นระยะเวลาติดต่อยาวนานถึง 12 ปี ด้วยเนื้อหาความรักของพระนางที่เริ่มจากการหยอกล้อกัน จนพบปัญหาอุปสรรคของความรักที่ผ่านพ้นมาได้กระทั่งแต่งงานและมีลูก, บ้านนี้มีรัก (2006-2016) ออกอากาศติดต่อยาวนานถึง 10 ปี ด้วยเนื้อหาแนวครอบครัวที่อบอุ่นด้วยลูก 3 คน ได้แก่ รินพี่สาวคนโตปากร้าย รักลูกชายคนกลางที่ต้องรับกรรมทุกสถานการณ์ และลิงค์ลูกชายคนเล็กวัยคึกคะนองตัวสร้างปัญหาของตระกูลอยู่เจริญยิ่ง โดยเรื่องนี้มีอินโทรเปิดติดหูอย่างเพลง ‘ที่ตรงนี้ยังคงมีรัก’ และปิดตอนด้วยเพลงรักของฉันนั้นคือเธอ, เฮง เฮง เฮง (2006-2016) ภาพโคมเต็งลั้งสีแดงสามดวงเป็นอันต้องแวบเข้ามาในหัว และฉากหลังอย่างร้านก๋วยเตี๋ยวของครอบครัวชาวจีนแถวเยาวราชยังอยู่ในใจของหลาย ๆ คน จากบรรยากาศอัดแน่นไปด้วยผู้คนหลายวัยหลายลำดับตั้งแต่อาม่า อาเจ็ก อาฮวดเจ้าของบ้าน อาตงลูกชายคนเล็ก ลำไยคนรับใช้ และเพลงประกอบจากศิลปิน China Dolls ที่มีท่อนแรกว่า “ร้อยวันพันปีไม่เคยจะให้พรใด ๆ รักเธอเกินใครก็เลยให้เฮง ๆ ๆ” จากอัลบั้มปี ค.ศ. 2002, ผู้กองเจ้าเสน่ห์ (2007-2016) เรื่องราววุ่น ๆ เริ่มต้นขึ้นในสถานีตำรวจ โดยมีมานะผู้กองหนุ่มไฟแรงย้ายมาประจำการที่สน.สำราญโรจน์และได้พบกับหมวดรันตำรวจหญิง และเจอเหตุการณ์ต่าง ๆ ร่วมกันขณะปฏิบัติหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นคดีไล่จับผู้ร้าย เข้าไปช่วยเหลือคนทุกข์ยาก ต้องหลบหนีพ่อค้ามืดรายใหญ่ พร้อมทั้งต้องเปิดโปงคนร้ายนั้นได้เพิ่มความสนุกถึงขั้นสุดให้กับซิตคอมเรื่องนี้ ถัดมาที่เรื่องสองคู่หู นัดกับนัด (2007-2015) ออกอากาศตอนแรกด้วยชื่อว่า ‘สวัสดีปีใหม่’ จากการพบกันของสองนัด หนึ่งคนจากเมืองเหนือจังหวัดเชียงใหม่และอีกคนจากภาคอีสานชาวจังหวัดอุดรธานีที่ดั้นด้นมาทำงาน ณ กรุงเทพฯ ด้วยความตั้งใจอยากให้ครอบครัวอยู่สุขสบาย บรรดาเพื่อนบ้านจึงต้องแยกชื่อพวกเขาระหว่างนัดหล่อกับนัดเท่
จุดเด่นที่ทำให้ละครซิตคอมกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันในช่วงต้นยุค ค.ศ. 2000 อาจเป็นเพราะมีเนื้อเรื่องที่เบาสมอง เข้าถึงง่าย และใช้เวลารับชมน้อยแค่ตอนละครึ่งชั่วโมง ทำให้ซิตคอมแต่ละเรื่องสามารถยืดเรื่องราวหลักและออกฉายได้อย่างยาวนาน จนเกิดความผูกพันธ์ระหว่างคนดูกับตัวละครที่ต้องพบเจอกับสถานการณ์และปัญหาต่าง ๆ ความสนุกจึงเกิดขึ้นท่ามกลางอารมณ์ขบขัน จนทำให้คนดูกลายเป็นส่วนหนึ่งที่คอยลุ้นเอาใจช่วยไปกับตัวละครและคิดช่วยแก้ปัญหาไปพร้อมกันว่าทำไมตัวละครทำแบบนี้ ควรทำอย่างไรก่อนตัวละครตัดสินใจหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาทั้งหมด และกลับสู่ความปกติสุขดังเดิม
หลังจากพ้นช่วงยุคทองของซิตคอม ชีวิตประจำวันของผู้คนเริ่มห่างออกจากหน้าจอโทรทัศน์ แม้ในวันหยุดหรือเวลาว่างก็แทบไม่ได้เปิดดูโทรทัศน์เหมือนแต่ก่อนแล้ว ยิ่งฐานผู้ชมในอดีตเริ่มมีอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีเวลาว่างน้อยลง ซิตคอมในปัจจุบันจึงเปลี่ยนรูปแบบแพลตฟอร์มเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ ซึ่งสามารถรับชมย้อนหลังได้ และรูปแบบเนื้อหาของซิตคอมก็เปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งเนื้อเรื่องหรือมุกตลกที่ต้องปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย หลงเหลือให้เห็นรายการซิตคอมน้อยลงและเหลือเพียงน้อยเรื่องที่หลาย ๆ คนรู้จัก อย่างเช่น หกฉากครับจารย์, เสือ ชะนี เก้ง, สุภาพบุรุษสุดซอย, เป็นต่อ 2020 ที่แทรกความตลกขบขันเป็นหลัก เบาสมองด้วยเทรนด์ตามกระแสต่าง ๆ ล้อเลียนเหตุการณ์ ไม่ได้เน้นแง่คิดหรือความอบอุ่นแนวครอบครัวเหมือนในอดีต เรียกได้ว่ายุคทองของซิตคอมได้จางหายไปแล้ว เหลือเพียงแต่ซิตคอมแนวปัจจุบันนี้
กล่าวได้ว่าซิตคอมที่ผู้คนเคยรู้จักและมีชื่อเสียงของช่วงยุคทองได้เริ่มเลือนหายไปจากความทรงจำของคนรุ่น Gen Y และ Gen Z เหมือนชีวิตประจำวันที่เคยปฏิสัมพันธ์กับโทรทัศน์และครอบครัวในวันหยุดนั้น ก็ได้จางหายไปเช่นกัน ซิตคอมจึงเปรียบเป็นหมุดของเวลาตัวนึง ที่ทำให้เราเห็นการดำเนินชีวิตในช่วงยุค 2000 และการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันอย่างชัดเจนจากเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในปัจจุบัน และการปรับตัวของสื่อบนหน้าแพลตฟอร์มออนไลน์
แหล่งข้อมูล
ทำไมโลกทุกวันนี้ไม่มี “ซิทคอม” https://www.brandthink.me/content/the-death-of-sitcom
บ้านนี้มีรัก https://www.ryt9.com/s/prg/55590