กล้าอย่างเหมาะสม ดีกว่าจมแล้วไม่มีใครเห็น

กล้าอย่างเหมาะสม ดีกว่าจมแล้วไม่มีใครเห็น

กล้าอย่างเหมาะสม ดีกว่าจมแล้วไม่มีใครเห็น
ประเด็นที่จะเอ่ยถึงต่อไปนี้ เชื่อว่าใครหลายคนต่างก็คงจะประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ลึกๆ ภายในใจของเราทุกคนนั้นสามารถเกิดความรู้สึกนี้เหล่านี้ได้ นั่นคือ การขลาดกลัว กลัวที่จะทำอะไรสักอย่าง เมื่อสิ่งนั้นคือสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่มั่นใจเอาซะเลย อย่างความกลัวไม่กล้าที่จะพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่กล้าแสดงทัศนคติหรือความคิดของตัวเองกับคนอื่น
ซึ่งเมื่อเราใช้ชีวิตอยู่ในสังคมแล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จะปฏิบัติตัวอย่างไรดีล่ะจึงจะเหมาะสม จะแสดงความคิดเห็นของตนอย่างไรให้เป็นธรรมชาติ มีความมั่นใจ และปราศจากความกังวล ซึ่งคำตอบเหล่านั้นอยู่ตรงนี้แล้ว
การพูดแสดงความรู้สึก เมื่อใดก็ตามที่มีเหตุการณ์ที่ทำให้เราต้องพูดแสดงความรู้สึกแท้จริงออกมา สิ่งที่ควรทำคือการพูดอย่างตรงไปตรงมาตามความคิดของตนเอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ แต่อย่างไรก็ตาม การแสดงความรู้สึกที่แท้จริงออกมานั้นก็ต้องแสดงอย่างเหมาะสม
ต่อมาคือการพูดเกี่ยวกับตนเอง  การบอกเล่าเรื่องราวของตนเองกับคนรอบข้าง เราไม่ควรผูกขาดการพูดคุยไว้แต่เพียงผู้เดียว ควรเว้นให้ผู้อื่นได้มีส่วนในการพูดคุยด้วย และสิ่งสำคัญคือไม่พูดจาโอ้อวด เยินยอตัวเองจนเกินพอดี เพราะจะทำให้คนรอบข้างรู้สึกอึดอัดได้ เมื่อพูดเกี่ยวกับตนเองแล้วนั่นควรมีการพูดจาทักทายปราศรัย การแสดงความเป็นมิตร และสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นที่ต้องการทำความรู้จัก ก็เป็นหนึ่งสิ่งที่จะช่วยในการสร้างบทสนทนาที่ดีต่อไปได้ ซึ่งการทักทายนั้น เราควรทักทายด้วยน้ำเสียงที่ดี และแสดงถึงความยินดีที่ได้พบอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส
นอกจากนี้ยังต้องกล้ายอมรับคำชมเชย  เมื่อเราได้รับคำชมเชย ควรยอมรับคำชมเชยอย่างจริงใจ และขอบคุณให้เหมาะสม ไม่ควรปฏิเสธคำชมเชยที่ได้รับ เพราะจะทำให้คนที่ชมเสียน้ำใจ การแสดงสีหน้าอย่างเหมาะสม  เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเมื่อเราต้องพูดคุยกับคนอื่น เพราะจะแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึกในตอนนั้น ซึ่งการแสดงทางสีหน้าและน้ำเสียงที่เหมาะสมนั้น เราจะต้องแสดงตรงตามความรู้สึกที่แท้จริง และสบตาคู่สนทนาไปด้วยและต้องแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างสุภาพ  เมื่อมีความรู้สึกว่าไม่เห็นด้วยกับข้อความในการสนทนานั้น เราควรแสดงออกอย่างสุภาพโดยไม่เสแสร้ง ซึ่งอาจแสดงออกด้วยการเลิกคิ้ว หรี่ตา ส่ายศีรษะ หรือเปลี่ยนหัวข้อในการสนทนา โดยแสดงออกมาอย่างเหมาะสมและสุภาพ
เมื่อไม่เข้าใจควรขอให้แสดงความกระจ่างชัด เมื่อบทสนทนา หรือมีคำอธิบายที่กำกวม ทำให้เราไม่เข้าใจ ควรซักถามเพื่อให้เข้าใจในความหมายนั้นอย่างชัดเจน หรือขอร้องให้มีการอธิบายใหม่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ควรปล่อยไว้เพราะอาจจะทำให้ไม่เข้าใจตรงกันได้และควรถามเหตุผล  เมื่อมีคนมาขอร้องให้ทำในสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล เราควรถามหาเหตุผลที่ชัดเจนของสิ่งที่จะทำอย่างตรงไปตรงมา
นอกจากนี้การพูดเพื่อรักษาสิทธิของตน  เมื่อโดนเอาเปรียบบควรเรียกร้องสิทธิของตัวเอง เมื่อรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ควรยอมให้ใครมาเอาเปรียบ และเมื่อรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบก็สามารถปฏิเสธ ไม่ควรเก็บมาคิดว่าเป็นความผิดของตัวเอง และเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมของตัวเองด้วยการยืนกราน  เมื่อรู้สึกว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม เราควรทำการร้องทุกข์และยืนหยัดในวัตถุประสงค์ของเราเอง จนกว่าจะได้รับความพอใจ แม้มีผู้คัดค้านก็ไม่ควรเลิกล้มความตั้งใจนั้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ และสิ่งสุดท้ายที่ต้องทำในบางครั้งคือ การเลี่ยงการให้คำอธิบายกับทุกๆ ความคิดเห็น เป็นการโต้เถียงในการสนทนา โดยการยุติการวิจารณ์ เช่น เมื่อมีคนถามเหตุผลว่าทำไมๆ ตลอดเวลา เราควรหยุดคำถามโดยการปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เพิ่มเติม หรือการถามคำถามนั้นกลับไปแก่ผู้ถาม

Top