ปัจจุบันเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ มีทั้งแบบผลิตจากเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ เเต่รู้หรือไม่ว่า กว่าจะได้เสื้อผ้า 1 ตัว ต้องใช้น้ำในการผลิตมากถึง 2,700 ลิตร แล้วทำไมต้องใช้น้ำมากมายขนาดนั้น
จุดเริ่มต้นของการใช้น้ำที่มากขึ้น เกิดจากการผลิตเสื้อจากผ้าฝ้ายที่เพิ่มขึ้น เพื่อลดความต้องการผลิตเสื้อผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งปล่อยรอยเท้าคาร์บอน (carbon footprint) ถึง 5.5 กิโลกรัม ต่างจากเส้นใยฝ้ายที่ปล่อยเพียง 2.1 กิโลกรัม แต่โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นผู้ที่ใช้น้ำมากที่สุดเป็นอันดับ 2
แม้ว่าฝ้ายจะถูกใช้ในการผลิตเสื้ออย่างมาก เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ แต่สิ่งที่ต้องแลกมาคือ การผลิตฝ้ายที่ต้องใช้น้ำและที่ดินมากขึ้น โดยใช้น้ำถึง 2,700 ลิตรในการปลูกฝ้าย เพื่อผลิตเสื้อเพียง 1 ตัว ถ้าเทียบเป็นเสื้อผ้าหนัก 1 กิโลกรัม อาจใช้น้ำมากถึง 10,000 - 20,000 ลิตร และถ้าเทียบต่อปีต้องใช้น้ำมากถึง 93 พันล้านลูกบาศก์เมตร เปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น คือ น้ำที่ใช้ผลิตเสื้อ 1 ตัวสามารถบริโภคได้ถึง 13 ปีต่อประชากรหนึ่งคนเลยทีเดียว อีกทั้งน้ำมักปนเปื้อนจากปุ๋ยและยาฆ่าแมลงจากการทำไร่ฝ้ายในปริมาณสูง และทำให้ที่ดินเป็นกรดและแห้งแล้งมากขึ้น
ตราบใดที่การปลูกผ้าฝ้ายเพื่อทำเสื้อผ้านั้นไม่ลดลง ผลกระทบคงมีแต่จะมากขึ้นเท่านั้น ถึงจะเปลี่ยนไปสนับสนุนเสื้อผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ ก็คงไม่ต่างกันเพราะแลกมากับคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ ผลจากการใช้น้ำในการผลิตเกินไป ก็ส่งผลให้ขาดแคลนขาดน้ำจืดลงเรื่อยๆ โดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์และสัตว์จำเป็นต้องบริโภค ดังนั้นการสนับสนุนการลดการซื้อเสื้อผ้าหรือการปฏิเสธค่านิยม Fast Fashion ผ่านการรณรงค์จากการเดินขบวน จากสื่อ หรือในโซเชียลเน็ตเวิร์กก็ตามแต่ ควรเกิดขึ้นในสังคมเพื่อให้ค่านิยมเหล่านี้เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ในทางที่ดีขึ้น
ปัจจุบันเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ มีทั้งแบบผลิตจากเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ เเต่รู้หรือไม่ว่า กว่าจะได้เสื้อผ้า 1 ตัว ต้องใช้น้ำในการผลิตมากถึง 2,700 ลิตร แล้วทำไมต้องใช้น้ำมากมายขนาดนั้น
จุดเริ่มต้นของการใช้น้ำที่มากขึ้น เกิดจากการผลิตเสื้อจากผ้าฝ้ายที่เพิ่มขึ้น เพื่อลดความต้องการผลิตเสื้อผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งปล่อยรอยเท้าคาร์บอน (carbon footprint) ถึง 5.5 กิโลกรัม ต่างจากเส้นใยฝ้ายที่ปล่อยเพียง 2.1 กิโลกรัม แต่โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นผู้ที่ใช้น้ำมากที่สุดเป็นอันดับ 2
แม้ว่าฝ้ายจะถูกใช้ในการผลิตเสื้ออย่างมาก เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ แต่สิ่งที่ต้องแลกมาคือ การผลิตฝ้ายที่ต้องใช้น้ำและที่ดินมากขึ้น โดยใช้น้ำถึง 2,700 ลิตรในการปลูกฝ้าย เพื่อผลิตเสื้อเพียง 1 ตัว ถ้าเทียบเป็นเสื้อผ้าหนัก 1 กิโลกรัม อาจใช้น้ำมากถึง 10,000 - 20,000 ลิตร และถ้าเทียบต่อปีต้องใช้น้ำมากถึง 93 พันล้านลูกบาศก์เมตร เปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น คือ น้ำที่ใช้ผลิตเสื้อ 1 ตัวสามารถบริโภคได้ถึง 13 ปีต่อประชากรหนึ่งคนเลยทีเดียว อีกทั้งน้ำมักปนเปื้อนจากปุ๋ยและยาฆ่าแมลงจากการทำไร่ฝ้ายในปริมาณสูง และทำให้ที่ดินเป็นกรดและแห้งแล้งมากขึ้น
ตราบใดที่การปลูกผ้าฝ้ายเพื่อทำเสื้อผ้านั้นไม่ลดลง ผลกระทบคงมีแต่จะมากขึ้นเท่านั้น ถึงจะเปลี่ยนไปสนับสนุนเสื้อผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ ก็คงไม่ต่างกันเพราะแลกมากับคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ ผลจากการใช้น้ำในการผลิตเกินไป ก็ส่งผลให้ขาดแคลนขาดน้ำจืดลงเรื่อยๆ โดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์และสัตว์จำเป็นต้องบริโภค ดังนั้นการสนับสนุนการลดการซื้อเสื้อผ้าหรือการปฏิเสธค่านิยม Fast Fashion ผ่านการรณรงค์จากการเดินขบวน จากสื่อ หรือในโซเชียลเน็ตเวิร์กก็ตามแต่ ควรเกิดขึ้นในสังคมเพื่อให้ค่านิยมเหล่านี้เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ในทางที่ดีขึ้น