10 กันยายน วันป้องกันการฆ่าตัวตาย

10 กันยายน วันป้องกันการฆ่าตัวตาย

 

 

          ในทุกๆ 40 วินาที จะมีหนึ่งคนที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และมียอดผู้เสียชีวิตกว่า 800,000 ราย ในแต่ละปี องค์การอนามัยโลกจึงประกาศให้วันที่ 10 กันยายน เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day) โดยองค์การอนามัยโลกยังระบุว่าการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสอง ในคนกลุ่มวัย 15-29 ปี รองจากการเกิดอุบัติเหตุ

 

          ปัญหาสุขภาพจิตและการทำร้ายตัวเองมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะส่วนหนึ่งในสังคมไทยยังไม่มีการรักษา สุขภาพจิตเท่าที่ควร สาเหตุที่สังคมไทยไม่ให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพจิต อาจมาจากมุมมองของคนไทย ที่ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคนที่เข้าพบจิตแพทย์คือเป็นคนวิกลจริต หรือมีปัญหาจิตอยู่เสมอ ทำให้ผู้คนหลีกเลี่ยงที่ จะพบจิตแพทย์ ปัญหาจึงเกิดการขยายตัวจากภาวะซึมเศร้าจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่สามารถรักษาและป้องกันได้ เช่น การพูดคุยกับคนที่รู้สึกไว้ใจได้ ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต การเขียนไดอารี่ การเสพผลงานศิลปะที่ชื่นชอบมาเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการลอง ทำในสิ่งไม่เคยทำ ก็อาจจะทำให้เจอสิ่งที่เยียวยาหัวใจของเราก็เป็นได้

 

          ทั้งนี้การที่เราเจอปัญหาหนักหน่วงขนาดไหน สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงมากที่สุด คือ ชีวิตของเรา เพราะในทุกปัญหามักมีทางออกที่ดีเสมอ แม้ว่าบางครั้งอาจจะต้องใช้เวลาสักระยะ เพื่อที่จะคลี่คลายปัญหาเหล่านั้น การฆ่าตัวตายจึงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แล้วคุณผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้วย การฆ่าตัวตายกันบ้าง

 

 

 

          ในทุกๆ 40 วินาที จะมีหนึ่งคนที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และมียอดผู้เสียชีวิตกว่า 800,000 ราย ในแต่ละปี องค์การอนามัยโลกจึงประกาศให้วันที่ 10 กันยายน เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day) โดยองค์การอนามัยโลกยังระบุว่าการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสอง ในคนกลุ่มวัย 15-29 ปี รองจากการเกิดอุบัติเหตุ

 

          ปัญหาสุขภาพจิตและการทำร้ายตัวเองมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะส่วนหนึ่งในสังคมไทยยังไม่มีการรักษา สุขภาพจิตเท่าที่ควร สาเหตุที่สังคมไทยไม่ให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพจิต อาจมาจากมุมมองของคนไทย ที่ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคนที่เข้าพบจิตแพทย์คือเป็นคนวิกลจริต หรือมีปัญหาจิตอยู่เสมอ ทำให้ผู้คนหลีกเลี่ยงที่ จะพบจิตแพทย์ ปัญหาจึงเกิดการขยายตัวจากภาวะซึมเศร้าจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่สามารถรักษาและป้องกันได้ เช่น การพูดคุยกับคนที่รู้สึกไว้ใจได้ ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต การเขียนไดอารี่ การเสพผลงานศิลปะที่ชื่นชอบมาเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการลอง ทำในสิ่งไม่เคยทำ ก็อาจจะทำให้เจอสิ่งที่เยียวยาหัวใจของเราก็เป็นได้

 

          ทั้งนี้การที่เราเจอปัญหาหนักหน่วงขนาดไหน สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงมากที่สุด คือ ชีวิตของเรา เพราะในทุกปัญหามักมีทางออกที่ดีเสมอ แม้ว่าบางครั้งอาจจะต้องใช้เวลาสักระยะ เพื่อที่จะคลี่คลายปัญหาเหล่านั้น การฆ่าตัวตายจึงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แล้วคุณผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้วย การฆ่าตัวตายกันบ้าง

 

 

Top