“เสรีภาพในการแสดงออกเป็นของเรา แต่กลับถูก "เขา" คุกคาม”

“เสรีภาพในการแสดงออกเป็นของเรา แต่กลับถูก "เขา" คุกคาม”

ที่ใดผู้คนมีเสรีในการพูดและการแสดงออก ที่นั่นจะเกิดการพัฒนาในทุกๆ มิติอย่างมีประสิทธิภาพ

เสรีภาพในการพูด (Freedom of Speech) หรือเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression) ถือเป็นสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

นั่นหมายความว่าอย่างไร

หมายความว่าในฐานะประชากรคนหนึ่งในโลก เราสามารถแสดงออกหรือสื่อสารได้ทั้งทางความคิด คำพูด ท่าทาง แม้กระทั่งตัวหนังสือ ลงบนแผ่นกระดาษหรือบนโลกออนไลน์อย่างที่เราเองก็คุ้นเคยและเห็นในปัจจุบัน

สำหรับเสรีภาพในการแสดงออกและการพูดในประเทศไทย ก็ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเช่นกัน ดังนั้น การแสดงออกหรือการพูดความแสดงความคิดเห็นใดๆ ล้วนถือเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของแต่ละบุคคล

และถึงแม้ว่าเสรีภาพในการแสดงออก จะถูกรับรองไว้ในกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ก็จริง แต่ก็พ่วงมาด้วยข้อจำกัดที่บัญญัติไว้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงของ "รัฐ"  

หรือนี่จะเป็นสาเหตุที่เราได้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ในช่วงต้นเดือนมานี้ว่า มีการตั้งข้อหาดำเนินคดีกับบุคคลที่ออกมาแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อรัฐ ซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงเกิดเป็นข้อสงสัยขึ้นมาว่า สิทธิ เสรีภาพของประชาชนกำลังถูกรัฐฯ ละเมิดและคุกคามอยู่หรือไม่

อย่างไรก็ตาม กฎหมายหรือมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เมื่อนำมาใช้ในทางปฏิบัติก็คงเป็นเพียงมาตรฐานหนึ่งเท่านั้น เพราะท้ายที่สุดแล้ว หากรัฐไทยยังเลือกที่จะจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก หรือเสรีภาพในการพูดของประชาชน โดยใช้คำว่า "เพื่อความมั่นคงของรัฐ" มาเป็นข้ออ้างในการคุกคามประชาชน แล้วแบบนี้ไม่ได้หมายความว่ารัฐไทยกำลังละเมิดรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศอยู่หรือ

เรื่อง : สุพัตรา ถาวงษ์กลาง

Top