มองเรื่องราวที่ผู้หญิงมักถูก “เบลม” ผ่านบทเพลง The last great american dynasty : Taylor Swift

มองเรื่องราวที่ผู้หญิงมักถูก “เบลม” ผ่านบทเพลง The last great american dynasty : Taylor Swift

The last great american dynasty คือ 1 ใน 16 บทเพลง จากอัลบั้มลำดับที่ 8 อย่าง Folklore ของ Taylor Swift ที่ถูกปล่อยออกมาช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเรื่องราวของเพลงนี้กล่าวถึง Rebekah Harkness (นักแต่งเพลง ประติมากร และนักเต้นหญิงชาวอเมริกัน) ซึ่งซ่อนนัยที่มีความคล้ายคลึงกับเรื่องราวของตัว Taylor Swift กล่าวได้ว่าเพลงนี้เป็นเหมือนเงากระจกสะท้อนเรื่องราวแย่ๆ ที่ตัว Taylor ได้ประสบพบเจอในฐานะผู้หญิง และถ่ายทอดทั้งหมดนั้นออกมาโดยมี Rebekah เป็นสื่อกลาง

 
Rebekah Harkness
เป็นหญิงสาวชนชั้นกลาง เธออาศัยอยู่ที่ St.Louis ในรัฐ Missouri ซึ่งเธอเคยแต่งงานและหย่าร้างมา
ครั้งหนึ่ง (เป็นเหตุผลที่เธอถูกเรียกว่าแม่หม้าย) ในช่วงปี 1947 เธอได้แต่งงานอีกครั้งกับ William Hale Harkness ทายาท Standard Oil บริษัทน้ำมันที่ใหญ่และร่ำรวยที่สุดในอเมริกา (ช่วงนั้น) นั่นทำให้เธอกลายเป็นผู้หญิงที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกา เป็นจุดเริ่มต้นที่เธอได้รับคำต่อว่าและนินทามากมาย ต่อมาในปี1954 สามีของเธอก็ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน จากเหตุการณ์นี้ทำให้เธอถูกครหาต่างๆ นานา ในแบบที่ไร้ความสมเหตุสมผลอย่างสิ้นเชิง
 
ผู้หญิงมักถูก “เบลม” 
 
มีหลายท่อนในเพลงนี้ ที่ทำให้เห็นว่าผู้หญิงมักถูกเบลมในเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไหร่นัก แน่นอนว่าเรื่องที่เราต้องเผชิญในฐานะผู้หญิงนั้นมีอีกมายมายก่ายกอง นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ที่จะทำให้เรามองเห็นอย่างชัดเจนว่าผู้หญิงมักจะถูก “เบลม” อยู่เสมอ 
 
• And the town said, "How did a middle-class divorcée do it?"
คนทั้งเมืองต่างก็พูดกัน “ยัยผู้หญิงแม่หม้ายชนชั้นกลางนั่น ทำแบบนี้ได้ยังไงกัน?” 
• It must have been her fault his heart gave out                                           
มันเป็นความผิดของเธอนั่นแหละที่ทำให้เขา (สามีของ Rebekah) หัวใจวายตาย
• And they said “There goes the last great American dynasty” 
พวกเขาต่างพูดกันว่า “จบสิ้นแล้ว ทายาทชนชั้นสูง (บริษัทน้ำมัน) คนสุดท้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอเมริกา”
• Who knows, if she never showed up, what could've been                   
ใครจะรู้ ถ้าไม่มีหล่อนสักคนเรื่องเลวร้ายนี้คงไม่เกิดขึ้น
• There goes the maddest woman this town has ever seen. She had a marvelous time ruining everything
นั่นไงล่ะ ยัยผู้หญิงที่โง่เง่าที่สุดเท่าที่เมืองนี้เคยมีมา เธอน่ะ คงจะมีช่วงเวลาที่แสนวิเศษที่ได้ทำลายทุกสิ่งทุก 
อย่าง (อารมณ์เหมือนมีความสุขที่ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง)
• There goes the most shameless woman this town has ever seen. She had a marvelous time ruining everything
นั่นไงล่ะ ยัยผู้หญิงที่ไร้ยางอายที่สุดเท่าที่เมืองนี้เคยมีมา เธอมันเป็นตัวทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง (ตัวซวย อะไรประมาณนั้น)
 
Rebekah ถูกชาวเมืองนินทาเสียๆ หายๆ เพียงเพราะเธอได้แต่งงานกับทายาทบริษัทน้ำมันที่รวยที่สุดในอเมริกา (ชนชั้นสูง) โดยที่เธอเป็นเพียงผู้หญิงชนชั้นกลางที่เคยหย่าร้างมาแล้ว ทุกคนต่างตั้งคำถามว่า “ผู้หญิงอย่างเธอ” ทำได้ยังไง แต่งงานกับคนชนชั้นสูงที่รวยที่สุดในอเมริกาได้ยังไงกัน ต่อมาสามีของเธอเสียชีวิตจากการหัวใจวายเฉียบพลัน ชาวเมืองต่างกล่าวหาว่าเธอเป็นสาเหตุที่ทำให้สามีของเธอตาย ทั้งที่ความจริงแล้วเธอไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการตายของสามีเธอเลย
 
มาถึงตรงนี้ คงจะเห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ผู้หญิงมักจะถูกตัดสินและประณามในทางที่ไม่ดีเสมอ ถึงแม้ว่าเธอจะไม่ได้ทำในสิ่งเหล่านั้นก็ตาม ผู้หญิงมักจะถูกตั้งคำถามในความสำเร็จของตัวเองเสมอ ถึงแม้มันจะมาจากความพยายามของตัวเอง

 

 
บทเพลงนี้อาจสื่อไปถึงตัวของ Taylor Swift เอง เพราะเรื่องราวของเธอนั้นขนานไปในแนวเดียวกันกับ Rebekah เธอมักจะได้รับคำพูดแย่ๆ จากสังคมเสมอ ทุกครั้งที่เธอรักหรือเลิกรากับใคร หรือในทุกครั้งที่เธอมีปัญหาหรือคดีความกับใครก็ตาม เธอมักจะถูกมองว่าเป็นคนผิดและเป็นคนที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งเธอได้ถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมดนี้ผ่านเรื่องราวของ Rebekah
 
ทั้งหมดนี้คือคีย์เวิร์ดสำคัญที่บอกกับเราอย่างชัดเจนว่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปอีกกี่สิบกี่ร้อยปี ผู้หญิงก็มักจะถูกเบลมและกล่าวหาในเรื่องราวทางลบ ในแบบที่แทบจะหาเหตุผลไม่ได้อยู่เสมอ ซึ่งทำให้เราตั้งคำถามว่าทำไมซ้ำแล้วซ้ำเล่า และคำตอบที่ได้กลับมาคือ “เพราะเราเป็นผู้หญิงยังไงล่ะ”

 

The last great american dynasty : Taylor Swift

 
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.stlmag.com/culture/music/the-last-great-american-dynasty-rebekah-harkness/
เรื่อง : พัชรินทร์ คำเปรม
 
 
 

 

Top