ปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่คนในสังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การที่ประชาชนในสังคมไม่ได้รับสวัสดิการที่ดีพอ หรือแม้กระทั่งการที" />         ปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่คนในสังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การที่ประชาชนในสังคมไม่ได้รับสวัสดิการที่ดีพอ หรือแม้กระทั่งการที">         ปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่คนในสังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การที่ประชาชนในสังคมไม่ได้รับสวัสดิการที่ดีพอ หรือแม้กระทั่งการที" />         ปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่คนในสังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การที่ประชาชนในสังคมไม่ได้รับสวัสดิการที่ดีพอ หรือแม้กระทั่งการที"/>
ทำไมถึงมีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้องทุกครั้งที่เกิดการชุมนุม?

ทำไมถึงมีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้องทุกครั้งที่เกิดการชุมนุม?

        ปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่คนในสังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การที่ประชาชนในสังคมไม่ได้รับสวัสดิการที่ดีพอ หรือแม้กระทั่งการที่ประชาชนถูกลิดรอนสิทธิ์จากเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไม่ยอมรับความแตกต่างในเพศสภาพ การถูกปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง จึงทำให้คนในสังคมลุกขึ้นมาประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับตนเอง

        การชุมนุม จึงถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการชุมนุมเป็นวิธีที่แสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของประชาชน เพื่อเป็นเครื่องสะท้อน กระตุ้นและเตือนให้ “รัฐบาล” ผู้ซึ่งใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในการบริหารจัดการประเทศ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลบริหารจัดการประเทศล้มเหลว จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนออกมาชุมนุม อีกทั้งการชุมนุมยังถือว่าเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่จะมีส่วนในการช่วยตรวจสอบการบริหารจัดการประเทศของรัฐบาลได้อีกด้วย

        ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ได้เกิดการชุมนุมขึ้นระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ต่างมีอุดมการณ์ ความคิด และความต้องการที่แตกต่างกัน จึงทำให้การชุมนุมในครั้งนั้นเต็มไปด้วยความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือแม้กระทั่งความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ เช่น การยิงและขว้างแก๊สน้ำตา การระเบิดรถยนต์ การระดมปาขวดน้ำที่บรรจุไปด้วยปัสสาวะ และการพลิกรถกรงขังของตำรวจจนคว่ำลงไป

        ปัจจุบันการออกมาเรียกร้องในการชุมนุมของประเทศไทยสามารถพบได้มากขึ้น ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2563 ที่เริ่มมีการชุมนุมให้เห็นในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะขยายไปทั่วในพื้นที่ต่างจังหวัด เมื่อมีคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้มีการยุบพรรคอนาคตใหม่ สืบเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลที่บอกว่า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ให้พรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงิน จำนวน 191 ล้านบาท ซึ่งการกระทำนี้เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญเลยเป็นสาเหตุที่ทำให้พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค จึงทำให้เกิดการชุมนุมขึ้นในสถานศึกษาและหยุดลงเนื่องจากมีโรคระบาดโควิด-19 การชุมนุมได้กลับมาร้อนระอุอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ในรอบ 6 ปี ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิประชาธิปไตย ผู้ออกมาเรียกร้องได้รวมตัวกันในชื่อกลุ่มของ “เยาวชนปลดแอก” ได้มีการยื่นข้อเสนอ 3 ข้อเรียกร้อง ได้แก่ การยุบสภาผู้แทนราษฏร การหยุดคุกคามประชาชน และการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งสาเหตุของการประท้วงเกิดจากพิษของโควิด-19 และการบังคับใช้ พ.ร.บ. ฉุกเฉิน

        การชุมนุมในปัจจุบันทำให้พบเห็นรูปแบบการชุมนุมที่มีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของการเรียกร้อง และการต่อต้านในหลาย ๆ เหตุการณ์ และปัจจุบันก็มีการหยิบยกนำเอาประเด็นเรื่องราวในอดีตมาพูดถึงอีกด้วย บางครั้งที่มีการชุมนุมก็มักจะพบเจอกับความรุนแรงที่ควบคู่กันมาเสมอ ซึ่งความรุนแรงที่พบอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเรียกร้องในครั้งนั้น ๆ ยกตัวอย่าง ประเทศเกาหลีใต้ในอดีตที่เกิดการต่อสู้ทางการเมือง ฝ่ายรัฐบาลได้ใช้ความรุนแรงกับประชาชน โดยใช้กำลังทหารจนทำให้มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก สุดท้ายประชาชนจึงได้ออกมาชุมนุมเรียกร้อง จึงทำให้ฝ่ายทหารได้ยอมจำกัดสถานภาพของตนเองในการทำหน้าที่ป้องกันประเทศ และให้ประชาชนได้ทำหน้าที่ในด้านการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย นั่นจึงถือว่าเกาหลีใต้ได้จุดประกายความหวังให้กับประเทศอื่น ๆ ในการออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย

        หากพูดถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2551 ก็คงจะหนีไม่พ้นกับเหตุการณ์หน้าอาคารรัฐสภาไทย ที่มีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุม โดยรัฐบาลได้ส่งกำลังตำรวจปราบจลาจล มาระดมเพื่อยิงแก๊สน้ำตานับร้อยลูกใส่ผู้ที่มาชุมนุมในวันนั้น เหตุการณ์เหล่านี้ดำเนินไปตลอดทั้งวัน ภาพที่ผู้คนบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตา มีคนเจ็บสาหัสและมีเลือดที่นองอยู่บนพื้น ยังเป็นเหตุการณ์ที่ตราตรึงในใจของใครหลาย ๆ คนตลอดมา ซึ่งการชุมนุมในปัจจุบันก็ยังพบเห็นความรุนแรงรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นการยิงกระสุนยาง การใช้แก๊สน้ำตา การใช้เครื่องขยายเสียง LRAD และการฉีดน้ำ ที่ทางฝั่งรัฐบาลใช้เพื่อสลายการชุมนุม จึงทำให้พบเห็นประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากการไปประท้วงเรียกร้องสิทธิ์เช่นเดียวกับอดีต นั่นจึงสะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานเท่าไหร่ ก็ยังพบเจอกับความรุนแรงทุกครั้งในการชุมนุม

        ย้อนรอยการสลายชุมนุมที่รุนแรงในรอบหลายปีคือเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ข้อมูลอ้างอิงจาก The Standard เมื่อปี พ.ศ. 2553 หลังจากที่หลายฝ่ายมีความพยายามในการเจรจาหาทางออก แต่ก็ยังเกิดการสลายชุมนุมขึ้น ซึ่งมีกองทัพใช้ยุทธการปิดล้อมพื้นที่ชุมนุม โดยนำรถหุ้มเกราะเข้าทำลายสิ่งกีดขวาง ก่อนที่จะเริ่มการโจมตีอย่างเต็มรูปแบบ และเข้ายึดพื้นที่ทั้งแยกราชประสงค์ โดยรอบสวนลุมพินี ซึ่งการสลายชุมนุมในครั้งนี้มีการใช้กระสุนจริง มีการล้อมปราบ ล้อมยิง ซุ่มยิงประชาชนโดยสไนเปอร์ ไม่เว้นแม้แต่ในเขตอภัยทานภายในวัดปทุมวนาราม ก็ยังถูกซุ่มยิงอย่างเลือดเย็น ทำให้พบเห็นความรุนแรงในการสลายชุมนุมในอดีต แต่ย้อนไปเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว ความรุนแรงในการสลายชุมนุมก็ยังมีให้พบเห็นอยู่บ้าง จะเห็นได้จากเหตุการณ์การชุมนุมเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ที่แยกปทุมวัน โดยตำรวจได้ฉีดน้ำแรงดันสูงใส่ผู้ชุมนุม มีน้ำผสมสารเคมี มีการยิงแก๊สน้ำตา และมีการกระชับพื้นที่จนเจ้าหน้าที่สามารถเข้ายึดพื้นที่นั้นได้สำเร็จ ซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมหลายคน และมีผู้ที่ถูกจับกุมอย่างน้อย 100 คน อ้างอิงจากไทยรัฐ พลัส ว่าด้วยเรื่องของกฎหมายการสลายการชุมนุม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติของตำรวจไว้ว่า หากผู้ชุมนุมไม่ทำตามเงื่อนไขของมาตรา 15 และมาตรา 16 ตำรวจจะใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมโดยทันทีไม่ได้ ต้องมีการทำตามขั้นตอน คือ ต้องร้องขอต่อศาลแพ่งก่อน หลังศาลแพ่งอนุญาต จึงใช้กำลังเข้าจับกุมผู้ชุมนุมได้ หากไม่ทำตามกฎหมายก็จะไม่สามารถสลายการชุมนุมนั้นได้

        ไม่ว่าจะย้อนเวลากลับไปในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ความรุนแรงในการชุมนุมก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ ทั้งการใช้ความรุนแรงในการสลายชุมนุม จึงเกิดเป็นคำถามที่ใครหลาย ๆ คน คงตั้งข้อสงสัยว่าเหตุใดเมื่อมีการชุมนุมทำไมถึงต้องมีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่การชุมนุมนั้นสามารถพูดคุยกันได้อย่างสงบสุขและสันติ แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ได้พบเห็น และในอนาคตก็ไม่รู้ว่าการชุมนุมจะมีรูปแบบความรุนแรงที่เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด?

 

อ้างอิง

https://thestandard.co/onthisday19052553/

https://plus.thairath.co.th/topic/speak/102415

https://th.wikipedia.org/wiki/การประท้วงในประเทศไทย_พ.ศ._2563–2564

https://www.csdi.or.th/2021/09/lessons-from-south-korea/

https://th.wikipedia.org/wiki/การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย_พ.ศ._2551

https://www.thaipbs.or.th/news/content/264878

https://www.sanook.com/campus/1401752/

https://thestandard.co/future-forward-party-dissolve-conclusion/

Top