โอบ อ้อม เอดส์

โอบ อ้อม เอดส์

โอบ อ้อม เอดส์ “เอดส์” ชื่อที่ใครได้ยินก็ล้วนแต่หวาดกลัว ไม่แม้แต่จะเข้าใกล้หรือสัมผัส เพราะเป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายได้และกลัวว่าตนเองอาจจะติดโรคตามไปด้วย คนเหล่านี้จึงถูกสังคมปฏิเสธที่จะใช้ชีวิตร่วมด้วย แต่รู้หรือไม่ว่าการอยู่ร่วมสังคมกับผู้ป่วยโรคเอดส์สามารถทำได้ รวมถึงการให้ความสำคัญต่อโรคเอดส์จนได้มีการจัดตั้ง วันเอดส์โลก ขึ้นมา  

1 ธันวาคม วันเอดส์โลก ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรณรงค์ยับยั้งการติดต่อของโรคเอดส์ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเอดส์มากถึง 4 แสนราย และคาดว่าจะมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต    

อาการโรคเอดส์เบื้องต้นนั้นมีระยะต่าง ๆ ที่แยกได้ตามขั้นตอนการพัฒนาของไวรัสในร่างกาย “ระยะแรก”อาจไม่มีแสดงอาการหรือมีอาการเล็กน้อยเท่านั้น เป็นอาการของผู้ติดเชื้อระยะเฉียบพลัน รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายประมาณ 1-4 สัปดาห์ อาการที่พบในระยะแรกอาจแตกต่างไปตามบุคคล ในระยะนี้สามารถพบแพทย์และรับยาต้านไวรัสได้ เพื่อไม่ให้เชื้อพัฒนาเป็นโรคเอดส์ เพราะในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด  

ต่อมาเป็น “ระยะที่สอง” อาการของผู้ติดเชื้อระยะแฝง รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายประมาณ 2-10 ปีหรือมากกว่า ไม่มีอาการผิดปกติต่อร่างกาย

“ระยะสาม” หรือ “เอดส์”  ในระยะนี้เป็นระยะสุดท้าย ใช้เวลาเพาะเชื้อในร่างกายมากถึง 10 ปี กว่าจะกลายเป็นโรคเอดส์  เมื่อก้าวเข้าสู่ระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตภายใน 2-3 ปี

สาเหตุของการติดเชื้อ HIV มีหลายสาเหตุ ทั้งทางเลือด สารคัดหลั่ง แม่สู่ลูก แต่สาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อกว่า 80% คือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย 

การป้องกันจากโรคเอดส์ควรป้องกันตนเอง โดยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์  หมั่นตรวจเลือด หรือตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อวัดระดับภูมิคุ้มกันร่างกาย หากมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อให้รีบพบแพทย์ทันที

นอกจากนี้ตัวผู้ป่วยเองก็ต้องมีวิธีการป้องกันตนเอง ไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น โดยการล้างมือบ่อย ๆ ก่อน และหลังรับประทานอาหาร ความสะอาดของอาหารต้องมาเป็นอันดับแรก  การใช้ช้อนกลางระหว่างรับประทานอาหาร แยกอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัว การมีเพศสัมพันธ์ของสามีภรรยาต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง และระมัดระวังเรื่องการแพร่เชื้อระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ที่สำคัญคือการไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ

การอยู่ในสังคมกับผู้ป่วยเอดส์ สามารถทำกิจกรรมเกือบทุกอย่างร่วมกันกับผู้ป่วยได้ แต่ก็ต้องมีระยะห่าง และวิธีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารปรุงสุกโดยใช้ช้อนกลาง ใช้ห้องน้ำร่วมกัน โอบกอด พูดคุย ทำกิจวัตรประจำวัน แต่ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย และหลังจากเสร็จกิจกรรมต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง

อีกวิธีในการอยู่ร่วมกันกับผู้ป่วยเอดส์ สามารถทำได้โดยการพูดให้กำลังใจ แสดงพฤติกรรมท่าทางที่เป็นมิตร สื่อถึงความห่วงใย  ไม่แสดงออกว่ารังเกียจ เพราะถ้าหากเราแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมผู้ป่วยโรคเอดส์อาจหมดกำลังใจในการใช้ชีวิต และสร้างบาดแผลทางจิตใจให้กับผู้ป่วยอีกด้วย

“ผู้ป่วยโรคเอดส์” ก็เป็นเพียงแค่ผู้ป่วยคนหนึ่งที่ต้องต่อสู้กับความเจ็บปวดทางร่างกาย และจิตใจอันแสนยากลำบาก ผู้ป่วยทุกคนนั้นล้วนอยากได้คำปลอบโยน และอ้อมกอดที่อ่อนโยนโอบรับกับร่างกายที่เปราะบางของพวกเขา เพราะนอกจากจะต้องยอมรับกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปแล้ว ยังต้องพบเจอกับคนในสังคมที่แสดงถึงท่าทีรังเกียจพวกเขาออกมาผ่านสายตา ท่าทาง และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป  

ถึงแม้ “เอดส์” จะเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็มีวิธีการดูแลรักษาเพื่อประคองอาการไม่ให้แย่ไปมากกว่าเดิม ให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคม แต่ก็ต้องมีการดูแลตัวเองและรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากขึ้น โดยการที่ไม่ทำให้เชื้อแพร่กระจายออกไป ด้านผู้คนในสังคมก็ต้องช่วยดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยการไม่แสดงคำพูดท่าทางออกมาในเชิงลบ  แต่ก็ยังไม่ลืมที่จะดูแลป้องกันตัวเองจากโรคนี้ด้วยเช่นกัน

Top